นักวิชาการ จี้ ร้านขายยาเร่งปรับตัวรับ AEC ก่อนเจ๊ง




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          นักวิชาการ จี้ ร้านขายยาเร่งปรับตัวรับ เออีซี มิเช่นนั้นจะถูกร้านยาต่างชาติกลืน ซ้ำรอยกิจการโชห่วยที่ถูกร้านสะดวกซื้อดูดลูกค้าไปหมด
 
          เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการจัดอภิปรายในประเด็น "ผลกระทบเออีซีต่อผู้ประกอบการร้านขายยา" ภายใต้โครงการ "พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยาแห่งประเทศไทย"
 
          โดย ภก.ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี กรรมการอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) กำลังจะเปิดใน พ.ศ. 2558 แต่ธุรกิจร้านขายยาเป็นธุรกิจที่ยังไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐทุกกรณี จึงทำให้ทางรัฐมีข้อมูลเกี่ยวกับร้านยาที่ไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การเปิดเออีซี จะส่งผลกระทบต่อร้านขายยาในประเทศไทย 2 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

           1. ยาจากต่างประเทศจะถูกนำมาขายในไทยมากขึ้น ในราคาที่อาจจะเทียบเท่าหรือถูกกว่า เนื่องจากได้รับการละเว้นภาษีนำเข้า มีเพียงต้นทุนค่าขนส่งเท่านั้น ขณะที่ยาในประเทศต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบและสารสำคัญของยาร้อยละ 2-5 อีกด้วย ทั้งนี้ การที่มียาไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น ทางร้านขายยาต้องมีหน้าที่คัดกรองยาที่จะนำมาขายเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องคุณภาพ ราคา ความปลอดภัย เป็นต้น
 
         
2. ร้านยาจากประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนจะมาเปิดแข่งกับร้านยาไทยมากขึ้น แม้ว่าตามกฎหมายไทยจะให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในกิจการได้ร้อยละ 49 ก็ตามที แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีคนไทยถือหุ้นแทนกันได้ นอกจากนี้ยังมีร้านขายยาแบบแฟรนไชส์ ที่เป็นคู่แข่งขันร้านขายยาไทยอีก 1 รายด้วย ส่วนสาเหตุที่ต่างชาติเจาะตลาดร้านขายยาไทย เป็นเพราะคุ้มค้าและได้กำไรมากกว่าการส่งออกเพียงอย่างเดียว
 

          ขณะที่ นายวิชัย อรุณรักษ์รัตนะ ประธานชมรมร้านยาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อีก 2-3 ปีข้างหน้าจะเปิดเออีซีแล้ว แต่ร้านขายยาในไทยยังไม่มีการตื่นตัวในเรื่องนี้ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องนี้อย่างเร่งด่วนด้วย มิเช่นนั้น ก็จะเกิดภาวะคล้ายคลึงกับร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก ค่อย ๆ ปิดกิจการ เนื่องจากสู้ทุนจากต่างชาติไม่ไหว
 
          นอกจากนี้ นายวิชัย ยังเสนอวิธีการรับมือของร้านขายยาไทยด้วยว่า ต้องรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น เพื่อเพิ่มอำนาจในการแข่งขัน เช่น เรื่องการพัฒนาร้านขายยาให้ได้มาตรฐาน รวมถึงการร่วมมือกันจัดซื้อยาให้ได้ราคาถูก เพื่อลดต้นทุน เนื่องจากปัจจุบันเป็นร้านยาเดี่ยว ต่างคนต่างซื้อ ไม่สามารถต่อรองราคาให้ถูกลงได้มากเท่าที่ควร ส่วนเรื่องร้านขายยาในไทย จะไปบุกตลาดต่างประเทศหรือไม่ คงยังไม่มีช่องทาง เพราะศักยภาพยังไม่เพียงพอ
 

 
 เกาะติด ข่าวอาเซียน 10 ประเทศ ข้อมูลอาเซียน เลาะรั้วอาเซียน คลิกเลย

 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก




คิดอย่างไรกับเรื่อง: นักวิชาการ จี้ ร้านขายยาเร่งปรับตัวรับ AEC ก่อนเจ๊ง ?

รอโหลดข้อความของเพื่อน ๆ ด้านล่างนี้สักครู่ แล้วร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !
นักวิชาการ จี้ ร้านขายยาเร่งปรับตัวรับ AEC ก่อนเจ๊ง โพสต์เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา 18:09:52 458 อ่าน แสดงความคิดเห็น
TOP